ความจริงแล้วมีหลายสาเหตุที่ทำให้ร่างกายของเราอ่อนเพลีย หรือรู้สึกเหนื่อยล้านั้นมีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะมาจากการทำงาน การออกกำลังกาย มีโรคประจำตัว รวมถึงความเครียด แต่รู้หรือไม่ว่า พฤติกรรมบางอย่างก็เป็นอีกหนี่งสาเหตุที่ทำให้ร่างกายของเราเหนื่อยล้าผิดปกติ วันนี้เราจึงได้รวบรวม นำเอา 5 พฤติกรรม ที่ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย มากฝากเพื่อน ๆ กัน เพื่อเป็นวิธีป้องกัน และจะช่วยให้เพื่อน ๆ ทุกคนสามารถหลีกเลี่ยงกับพฤติกรรมที่จะพาเราไปสู่ความเหนื่อยล้าได้ทันท่วงที จะมีอะไรบ้าง มาดูกัน
ถือว่าเป็นหนึ่งพฤติกรรมหลัก ๆ ที่ทำให้เรามีอาการอ่อนเพลียง่ายกว่าปกติ เพราะร่างกายของคนเราจะต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา และจะฟื้นฟูในช่วงเวลาที่เรานอนหลับ เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกาย โดยปกติคนเราจะใช้เวลานอนประมาณ 8 ชั่วโมง ดังนั้น เราต้องนอนให้เป็นเวลา อย่าออกกำลังหักโหมเกินไป ไม่เล่นโทรศัพท์มือถือ และไม่ดูทีวี จะให้ดีถ้าดื่มนมสักแก้วก่อนเข้านอน จะช่วยให้เรานอนหลับได้สนิทยิ่งขึ้น
แน่นอนว่า หากเราพักผ่อนไม่เพียงพอ เช่น นอนน้อย ทำงานดึก รวมไปถึงอาการนอนไม่หลับ ก็เป็นหนึ่งสาเหตุที่จะทำให้ร่างกายของเรานั้นสูญเสียพลังงาน หรือขาดพลังงาน จึงทำให้เรารู้สึกเหนื่อยมากขึ้นในวันต่อมา เพราะร่างกายไม่ได้พักผ่อนนั่นเอง และที่สำคัญไม่ควรดื่มกาแฟก่อนนอนนะคะ เป็นพฤติกรรมที่ทำลายสุขภาพมากๆ
สำหรับการนอนมากเกินไป ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ร่างกายของเรารู้สึกเหนื่อยล้าได้เช่นกัน ควรหลีกเลี่ยงการนอนมากกว่า 11 ชั่วโมงต่อคืน เพราะเราอาจจะเกิดภาวะง่วงนอนมากกว่าผิดปกติในเวลากลางวัน ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกง่วง และอ่อนเพลียอยู่ตลอดเวลา และจะส่งผลกระทบต่อการทำงานในชีวิตประจำวันของเราได้
ความจริงแล้วการนอนที่ดี และเหมาะสม คือนอนวันละ 7 – 8 ชั่วโมง หากรู้สึกตื่นแล้วควรจะลุกขึ้นจากที่นอนทันที ไม่นอนต่อบนเตียง หรือนอนหลับอีก อย่างที่บอกไปแล้วว่า การนอนมากเกินไป นอกจากจะทำให้ร่างกายของเราเกิดความเหนื่อยล้าแล้ว บางครั้งอาจทำให้เรามีอาการปวดหัว ไม่สดชื่นอีกด้วย
อีกหนึ่งสาเหตุที่ไม่ควรมองข้ามเลยก็คือ การกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ นอกจากจะไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว ร่างกายของเรายังเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารอีกด้วย โดยเฉพาะอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และโปรตีนที่จะให้พลังงานแก่ร่างกาย ซึ่งอาหารประเภทนี้จะเปลี่ยนเป็นพลังงาน ทำให้เรามีแรงในการทำงาน และทำกิจกรรมต่าง ๆ หากร่างกายของเราขาดสารอาหารประเภทนี้ไป จะทำให้เราได้รับพลังงานไม่เพียงพอ และรู้สึกอ่อนเพลียได้
แนะนำว่า ควรกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต หรือโปรตีน เช่น นม ข้าว เนื้อสัตว์ ไข่ ผัก ขนมปัง และผลไม้บางชนิด และไม่ควรกินอาหารที่มีน้ำตาลสูง ไม่ว่าจะเป็น กาแฟเย็น น้ำอัดลม ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า อาหารที่มีน้ำตาลสูงเหล่านี้จะให้พลังงานอย่างรวดเร็ว แต่ก็เป็นแค่ระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น บางครั้งอาจจะทำให้เรามีอาการเหนื่อยล้ามากกว่าเดิมด้วย
หากใครที่ชื่นชอบการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำนั้น จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า คนกลุ่มนี้มักจะมีอาการซึม ๆ เหนื่อย ๆ และอ่อนเพลีย เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีฤทธิ์เป็นกดประสาท ซึ่งส่งผลให้การทำงานของระบบประสาท และสมองช้าลง และเป็นการรบกวนการนอนหลับ ทำให้เรานอนหลับไม่ตรงเวลานั่นเอง
การออกกำลังกายนอกจากจะทำให้ร่างกายของเราแข็งแรงแล้ว ยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยลดความเครียดได้ดีอีกด้วย ซึ่งจะช่วยให้เรารู้สึกสดชื่น เพราะการออกกำลังกายจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อ และอวัยวะส่วนต่าง ๆ ให้เลือดสูบฉีดมากขึ้น หากออกกำลังกายเป็นประจำ แนะนำว่า อย่างน้อยวันละ 30 นาที จะช่วยให้ร่างกายของเราแข็งแรง ไม่เหนื่อยง่าย และยังช่วยให้เรานอนหลับสบายอีกด้วย
สำหรับ 5 พฤติกรรมที่ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ถือเป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ร่างกายของเรารู้สึกเหนื่อยล้ากว่าปกติ หากคุณพบว่า ตัวเองมีอาการเหล่านี้แต่ทำอย่างไรก็ไม่หายสักที แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย เพราะอาการอ่อนเพลียที่คุณเป็นอยู่ อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่นที่เป็นอันตรายได้ คราวนี้ลองมาดู 5 ข้อควรรู้ก่อนเล่น เกมสล็อตออนไลน์
บทความแนะนำ 72 เลขมหัศจรรย์ ลงทุนแบบไหนให้เงินโตไว คงไม่มีใครไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยิน ชื่อนักวิทยาศาสตร์ระดับโลก อย่าง อัลเบิร์ต ไอสไตน์ ที่เป็นผู้คิดค้น สมการที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกอย่าง E = MC2 เป็นสมการ เกี่ยวกับพลังงานที่ภายหลังมีคนนำไปพัฒนาต่อ เพื่อผลิตระเบิดนิวเคลียร์ปรมาณู ที่อเมริกานำไปปล่อยทิ้งที่เมืองฮิโรชิ มากับนางาซากิของญี่ปุ่น ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนพังราบเป็นหน้ากลอง